ข่าวที่ 3


ส่งผลึกโปรตีนจากอวกาศฉายแสงซินโครตรอนพัฒนายามาลาเรีย


ดร.อัมรินทร์ พิมพ์หนู หัวหน้าโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์อวกาศและการทดลองในอวกาศ หรือ National Space Exploration (NSE) ของจิสด้า เปิดเผยว่า แคปซูลดรากอน (Dragon) ของสเปซเอกซ์ (SpaceX) ที่บรรจุโปรตีนในการทดลองอวกาศ ได้ดีดตัวออกจากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) และกลับสู่พื้นโลก เมื่อช่วงต้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา รวมระยะเวลาอยู่ในอวกาศเพื่อทำการทดลองนานกว่า 30 วัน
สำหรับวิธีการส่งผลึกโปรตีนกลับมาพร้อมแคปซูลดรากอนนั้น สถานีอวกาศนานาชาติได้ปลดล็อคแคปซูลดรากอนที่มีลักษณะเหมือนถ้วยออกมา และข้างในแคปซูลมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองบรรจุอยู่ โดยถ้วยดังกล่าวจะค่อยๆ เคลื่อนที่ปรับวงโคจรต่ำลงเรื่อยๆ จนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกและผ่านการเสียดสี พร้อมถูกเผาไหม้เรียบร้อย ก่อนจะกางร่มและค่อยๆ ร่อนลงมาตกในทะเล ซึ่งมีการควบคุมวงโคจร คำนวณตำแหน่ง ความเร็วและการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก การเผาไหม้ต่างๆ จนความเร็วชะลอลง
"กระบวนการทั้งหมดมีการคำนวณไว้อย่างแม่นยำ เนื่องจากเราทราบระยะเวลาที่ปล่อยจากสถานีอวกาศนานาชาติ ตำแหน่ง มวลขนาด และวัสดุที่ใช้ ตลอดจนความสูงที่ปล่อย ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญทำให้เรารู้ได้ว่าแคปซูลจะตกบริเวณพื้นที่ลองบีช ทางชายฝั่งทะเลแคลิฟอร์เนียตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งห่างจากชายฝั่งประมาณ 300 ไมล์"
หลังจากที่แคปซูลตกลงมาแล้ว ทางองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้นำเรือออกไปเก็บลากเพื่อนำกลับไปที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) และได้ส่งต่อไปที่แจกซาเรียบร้อยแล้ว โดยแจกซาได้นำไปเก็บไว้ในตู้เพาะเชื้อสำหรับเก็บสารละลายในอุณหภูมิจำเพาะ เพื่อเตรียมที่จะเอาไปฉายแสงกับเครื่องซินโครตรอนพลังงานสูง ซึ่งจะทำให้เห็นโครงสร้างของผลึกโปรตีนได้อย่างชัดเจน


ที่มา : https://mgronline.com/science/detail/9620000086472

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น